มันฝรั่งมีสารพิษที่มีชื่อว่า ไกลโคอัลคาลอยด์ หรือ GAs ซึ่งเป็นสารพิษธรรมชาติชนิดหนึ่งเป็นแอลคาลอยด์ที่ต่ออยู่กับโมเลกุลของน้ำตาล มีแอลฟา-โซลานีน และ แอลฟา-คาโคนีน พบในสายพันธุ์ตระกูล nightshade ภายในสกุล Solanum นอกจากจะพบในมันฝรั่งแล้วนั้นยังสามารถพบใน มะเขือม่วง และ มะเขือเทศอีกด้วย
โดยสารไกลโคอัลคาลอยด์ จะเกิดขึ้นหลังกระบวนการเก็บเกี่ยว ซึ่งเกิดการทำ greening ภายใต้แสง ทำให้หัวมันฝรั่งมีความแข็งแรง และทนทานต่อการทำลายของโรค แต่การเก็บรักษามันฝรั่งให้อยู่ภายใต้แสงก็ทำให้เกิดกระบวนการผลิตสาร GAs ได้
จะเป็นอย่างไรหากได้รับสารไกลโคอัลคาลอยด์
สำหรับใครที่ได้รับไกลโคอัลคาลอยด์ในปริมาณมาก อาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และท้องเสีย หากอาการรุนแรงบางรายอาจเสียชีวิตได้
เคล็ดไม่ลับ
กับวิธีป้องกันจากการได้รับสารไกลโคอัลคารอยด์ (GAs)
🔸ซื้อมันฝรั่งเฉพาะจำนวนที่ต้องการ เพื่อหลีกเลี่ยงการเก็บในระยะเวลานาน
🔸เก็บหัวมันฝรั่ง โดยห่อด้วยกระดาษสีน้ำตาลในที่แห้ง เย็น และไกลจากแสงแดด
🔸ปอกผิวมันฝรั่งก่อนการนำไปทำอาหาร
🔸ไม่รับประทานมันฝรั่งที่มีเปลือกสีเขียว หรือเริ่มมีรากงอกที่หัวมันฝรั่ง หากจำเป็น ให้กำจัดราก ตา และปอกผิวให้ลึกมากกว่า 2 มิลลิเมตร
🔸ไม่รับประทานมันฝรั่งที่มีรสขม
🔸แนะนำให้ทอดมันฝรั่งด้วย อุณหภูมิที่ 210 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที จะช่วยกำจัดสารพิษได้ถึง 40%