กรมวิทย์ฯ นำร่อง “ผูกพันธุ์” แพลตฟอร์มดิจิทัลรายงานผลการตรวจพันธุกรรมผู้ป่วย ส่งเสริมการรักษาแบบการแพทย์แม่นยำ (Precision Medicine) ที่โคราช

โดย : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
195
22 เมษายน 2567
กรมวิทย์ฯ นำร่อง “ผูกพันธุ์” แพลตฟอร์มดิจิทัลรายงานผลการตรวจพันธุกรรมผู้ป่วย ส่งเสริมการรักษาแบบการแพทย์แม่นยำ (Precision Medicine) ที่โคราช
 
 
 
 
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นำร่องให้ประชาชนเข้าถึงผลการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์ สร้างระบบดิจิทัลแพลตฟอร์ “ผูกพันธุ์” เพื่อให้แพทย์นำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนป้องกันและรักษาโรคอย่างเฉพาะเจาะจงและแม่นยำมากยิ่งขึ้น ป้องกันการแพ้ยารุนแรง
 
นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข รักษาราชการแทนอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เห็นความสำคัญเกี่ยวกับการแพ้ยารุนแรงของผู้ป่วย จึงสร้างระบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม “ผูกพันธุ์” ขึ้น เพื่อรายงานผลการตรวจพันธุกรรมของผู้ป่วย เพื่อประเมินโอกาสที่จะเกิดการแพ้ยารุนแรงของผู้ป่วยว่ามีโอกาสมากน้อยเพียงใด ซึ่งการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์จะทำให้แพทย์ผู้รักษาสามารถเลือกใช้ยาหรือปรับขนาดยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย และทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากการแพ้ยา โดยผลการตรวจเภสัชพันธุศาสตร์ เพียงครั้งเดียวจะสามารถใช้ได้ตลอดชีวิต ซึ่งแพทย์ เภสัชกร และผู้ป่วยสามารถเข้าถึงข้อมูลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และใช้ประโยชน์ในการรักษาต่อไปได้ ทั้งนี้ การตรวจทางพันธุกรรมแรกที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์นําร่องให้บริการแก่ประชาชน ได้แก่ ผลการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์และเพื่อป้องกันการแพ้ยารุนแรง โดยแบ่งออกเป็น 4 การทดสอบ ได้แก่ 1.การตรวจยีน HLA-B*58:01 สําหรับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาอัลโลพูรินอล (Allopurinol)  2.การตรวจยีน HLA-B*15:02  สําหรับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาคาร์บามาซีปีน (Carbamazepine) 3.การตรวจยีน HLA-B*57:01 สําหรับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาอะบาคาเวียร์ (Abacavir)  และ 4.การตรวจยีนย่อยยา NAT2 ในผู้ป่วยวัณโรค ที่ได้รับยาไอโซไนอาซิด (Isoniazid) ซึ่งปัจจุบันการตรวจเภสัชพันธุศาสตร์ 4 การทดสอบ สามารถตรวจได้ที่ห้องปฏิบัติการเครือข่ายของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 14 แห่งทั่วประเทศ โดยนำร่อง “ผูกพันธุ์” ที่โรงพยาบาลมหาราช จ.นครราชสีมา นำไปทดลองใช้เป็นแห่งแรก
 
 
 

นายแพทย์ยงยศ กล่าวต่อไปว่า ระบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม ผูกพันธุ์” สร้างขึ้นโดยที่ผู้ใช้งานทุกประเภท ต้องกรอกรายละเอียดส่วนบุคคล และทำการยืนยันตัวตนในขั้นตอนสมัครใช้งานระบบ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในข้อมูลของผู้ป่วย โดยผู้ใช้งานแบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ 1.ประชาชนซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลผลการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์ของตนเอง 2.แพทย์และเภสัชกร สามารถเข้าถึงข้อมูลผลการตรวจจากการค้นหาข้อมูลด้วยเลขบัตรประชาชนหรือชื่อและนามสกุล และต้องส่งคำขอเข้าถึงข้อมูลไปยังประชาชนผู้เป็นเจ้าของก่อนถึงจะดูข้อมูลได้ 3.เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการเป็นผู้รายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการลงในระบบผูกพันธุ์ 
 
นายแพทย์ยงยศ กล่าวต่อไปว่า ระบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม ผูกพันธุ์” สร้างขึ้นโดยที่ผู้ใช้งานทุกประเภท ต้องกรอกรายละเอียดส่วนบุคคล และทำการยืนยันตัวตนในขั้นตอนสมัครใช้งานระบบ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในข้อมูลของผู้ป่วย โดยผู้ใช้งานแบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ 1.ประชาชนซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลผลการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์ของตนเอง 2.แพทย์และเภสัชกร สามารถเข้าถึงข้อมูลผลการตรวจจากการค้นหาข้อมูลด้วยเลขบัตรประชาชนหรือชื่อและนามสกุล และต้องส่งคำขอเข้าถึงข้อมูลไปยังประชาชนผู้เป็นเจ้าของก่อนถึงจะดูข้อมูลได้ 3.เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการเป็นผู้รายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการลงในระบบผูกพันธุ์ 
 
เว็บไซต์  http://phukphan.dmsc.moph.go.th
 
 

ข่าวประชาสัมพันธ์เกี่ยวข้อง

https://www.dmsc.moph.go.th/upload/nw/pictures/pic-202502071751446000700753459-6722.jpg
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมจัดนิทรรศการในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 22 โชว์ “ผลิตภัณฑ์สเปรย์ฟิล์มจากสารสกัดกระท่อมแก้ปวดกล้ามเนื้อและลดอักเสบ และแจกกล้าไม้สมุนไพร” ขอเชิญชวนเที่ยวงานและเยี่ยมชมบูธกรมวิทย์ฯ 2-6 ก.ค. นี้ ที่ฮอลล์ 11-12 อิมแพค เมืองทองธานี

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมจัดนิทรรศการในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 22 โชว์ “ผลิตภัณฑ์สเปรย์ฟิล์มจากสารสกัดกระท่อมแก้ปวดกล้ามเนื้อและลดอักเสบ และแจกกล้าไม้สมุนไพร” ขอเชิญชวนเที่ยวงานและเยี่ยมชมบูธกรมวิทย์ฯ 2-6 ก.ค. นี้ ที่ฮอลล์ 11-12 อิมแพค เมืองทองธานี

อ่านต่อ expand_circle_right

แผนผังเว็บไซต์