กรมวิทย์ฯ พร้อมคณะ ศึกษาดูงานญี่ปุ่น เรียนรู้การใช้ประโยชน์ด้านจีโนมิกส์และภูมิคุ้มกันวิทยา เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในประเทศไทย

โดย : ฝ่ายประชาสัมพันธ์
559
20 มีนาคม 2568




 

นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พร้อมด้วย นายแพทย์บัลลังก์ อุปพงษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แพทย์หญิงผลิน กมลวัทน์ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารกองทุนโลก ดร.ปนัดดา เทพอัคศร ผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ และคณะร่วมศึกษาดูงาน ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 17-20 มีนาคม 2568 ภายใต้โครงการความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น Technical Cooperation Project (TCP) for Accelerating Social Implementation of Science and Technology (TCP/ASIST) ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดย Japan International Cooperation Agency (JICA) โดยเข้าเยี่ยมชมศึกษาดูงานที่ Research Institute of Tuberculosis (RIT/JATA, Tokyo National Hospital, National Institute of Infectious Diseases (NIID), National Center for Global Health and Medicine, และ Shinjuku Health Center ในการศึกษาดูงานครั้งนี้ คณะได้เรียนรู้งานควบคุมและป้องกันวัณโรคของประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีด้านจีโนมิกส์และภูมิคุ้มกันวิทยา ในการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคและการสอบสวนโรคทางระบาดวิทยา เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในบริบทของประเทศไทย


 นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยศูนย์การแพทย์จีโนมิกซ์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ร่วมกับกรมควบคุมโรค เครือข่ายในประเทศและ JICA(ไจก้า) ดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรม องค์ความรู้ใหม่สนับสนุนยุทธศาสตร์ยุติวัณโรคของชาติ เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพในระบบการวินิจฉัย การพยากรณ์ความเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรค และการควบคุมวัณโรค โดยดำเนินการในเรื่องต่างๆ อาทิ การถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของเชื้อวัณโรค การวัดระดับยาและการตรวจยีน NAT2 ในผู้ป่วยวัณโรค เพื่อเป็นแนวทางในการปรับยาต้านวัณโรค Isoniazid การตรวจวัดระดับการแสดงออกของยีนในเลือด เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นวัณโรคด้วยเทคนิคดิจิตอลพีซีอาร์ และการตรวจหาการติดเชื้อวัณโรคด้วยเทคนิค IGRA

 

 






 

“หลังจากการศึกษาดูงานในครั้งนี้ได้เห็นถึงความสำเร็จของประเทศญี่ปุ่นที่มีการทำ contract investigation และ surveillance โดยการตรวจหาวัณโรคแฝงด้วยวิธี IGRA รวมถึงการใช้เทคโนโลยี whole genome sequencing เพื่อวิเคราะห์การระบาดเชิงโมเลกุล ซึ่งทำให้ประเทศญี่ปุ่นสามารถลดอุบัติการณ์ของวัณโรคได้ 10% ต่อปี ปัจจุบันญี่ปุ่นมีอุบัติการณ์วัณโรคประมาณ 8 ต่อประชากรแสนราย ซึ่งสามารถ Ending TB สำเร็จ อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังมีภาระวัณโรคสูงถึง 157 ต่อประชากรแสนราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เห็นความสำคัญของการใช้นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์การแพทย์มาสนับสนุนงานควบคุมและป้องกันวัณโรคของไทย ซึ่ง IGRA เป็นเทคโนโลยี ที่เราพัฒนาขึ้นเอง มีประสิทธิภาพเทียบเท่าของที่ขายในตลาด และมีราคาถูกกว่า และผลิตในประเทศ เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่ช่วย Ending TB ในประเทศไทย” นายแพทย์ยงยศ กล่าวทิ้งท้าย

 

ข่าวประชาสัมพันธ์เกี่ยวข้อง

https://www.dmsc.moph.go.th/upload/nw/pictures/pic-202502071751446000700753459-6722.jpg
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมจัดนิทรรศการในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 22 โชว์ “ผลิตภัณฑ์สเปรย์ฟิล์มจากสารสกัดกระท่อมแก้ปวดกล้ามเนื้อและลดอักเสบ และแจกกล้าไม้สมุนไพร” ขอเชิญชวนเที่ยวงานและเยี่ยมชมบูธกรมวิทย์ฯ 2-6 ก.ค. นี้ ที่ฮอลล์ 11-12 อิมแพค เมืองทองธานี

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมจัดนิทรรศการในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 22 โชว์ “ผลิตภัณฑ์สเปรย์ฟิล์มจากสารสกัดกระท่อมแก้ปวดกล้ามเนื้อและลดอักเสบ และแจกกล้าไม้สมุนไพร” ขอเชิญชวนเที่ยวงานและเยี่ยมชมบูธกรมวิทย์ฯ 2-6 ก.ค. นี้ ที่ฮอลล์ 11-12 อิมแพค เมืองทองธานี

อ่านต่อ expand_circle_right

แผนผังเว็บไซต์